บริษัท ที่จัดฝึกอบรมกับ TrainzIT สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ 200%

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ. 2545 อ่านรายละเอียดด้านล่าง...
 

ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 มีเป้าหมายเพื่อให้ผู้ประกอบกิจการมีส่วนร่วมรับผิดชอบพัฒนาศักยภาพกำลังแรงงานของตน ให้มีความรู้ความสามารถ ทักษะฝีมือ มีประสิทธิภาพ และคุณภาพในการทำงานสูงขึ้น จะส่งผลต่อการผลิตสินค้าและการบริการมีคุณภาพ สามารถแข่งขันทางการค้ากับประเทศอื่นได้

  พรบ.ฯ จึงกำหนดให้สิทธิและประโยชน์แก่ ผู้ประกอบกิจการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 100 คนขึ้นไป  ต้องฝึกอบรมลูกจ้างไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 ของจำนวนลูกจ้างทั้งหมดทุกปีและยื่นแบบส่งเงินสมทบเข้ากองทุนพัฒนาฝีมือแรงงาน  เพื่อประเมินเงินสมทบกองทุน  หากไม่จัดฝึกอบรมลูกจ้างหรือไม่ครบตามจำนวนที่กำหนด ต้องส่งเงินสมทบกองทุนเพื่อนำไปใช้จ่ายในการช่วยเหลือหรืออุดหนุนกิจการใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน

 

ขั้นตอนการดำเนินการ และผู้ที่เกี่ยวข้องในการขอคืนภาษี 200%

  • ใครเป็นผู้ดำเนินการ?
    • ฝ่ายบุคคล : ประสานงานกับสถานฝึกอบรม และกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
    • ฝ่ายบัญชี : ติดต่อ กรมสรรพากร
  • บริษัทของผู้ติดต่อ
    • ฝ่ายทรัพยากรบุคคล 
      • จัดฝึกอบรมให้พนักงาน (In-house Training) หรือจัดส่งพนักงานไปสัมมนา (Public Course)
      • นำยื่นที่กรมพัฒนาฝีมือแรงงานภายใน 60 วัน
      • ขอหนังสือรับรองจากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
      • หลักสูตรที่ใช้ขอยื่นต้อง 6 ชั่วโมงขึ้นไป
    • ฝ่ายบัญชี
      • รวบรวมเอกสารจากฝ่ายทรัพยากรบุคคล
      • ติดต่อไปที่กรมสรรพากรเพื่อขอคืน 200%
  • กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน
    • ทำการติดต่อติดต่อเพื่อขอหนังสือรับรอง
  • กรมสรรพากร
    • ฝ่ายบัญชีทำการติดต่อเพื่อขอคืน 200%
  • สถาบัน/ศูนย์ฝึกอบรม
    • ออกใบเสร็จ
      • Public อาจใช้คำว่า "ค่าสัมมนาหลักสูตร ...."
      • In-house Training อาจใช้คำว่า "ค่าวิทยากรในการฝึกอบรมหลักสูตร....."
    • ใบเสร็จค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าที่พัก ค่าอุปกรณ์ ฯลฯ (อาจจะไม่ได้ออกจากสถาบันฝึกอบรม)
    • หนังสือรับรองบริษัท/ ภพ.20
    • Course Outline รายละเอียดเนื้อหาหลักสูตร

เอกสารที่ใช้เบิกเพื่อคืนภาษี 200% ที่กรมสรรพากร

  • หนังสือรับรอง ของกรมพัฒนาฝึมือแรงงาน
  • รายชื่อ+เลขที่บัตรประชาชน+ลายเซ็น (In-hourse Training)
  • หลักสูตรฝึกอบรม+Agenda+Course Outline (Public Course)
  • หนังสือรับรองบริษัท (ของสถาบันฝึกอบรม) / ภพ.20
  • ใบเสร็จค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม (รวมได้ทุกเรื่อง เช่น ค่าวิทยากร ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ฯลฯ)



กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง (ฝึกภายใน , In-House Training )  มีข้อสรุปดังนี้

♦  แบบฟอร์มที่ต้องใช้ (ตามคู่มือสิทธิประโยชน์การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน) คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ  ฝย / ฝป  1)
Download From (PDF.file) >>

♦  รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม ฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ  กรณีเป็นผู้ดำเนินการฝึกเอง (แบบ  ฝย / ฝป  2 – 1)
Download From (PDF.file) >>     Download From (Word.file) >>

♦  ใบลงทะเบียนผู้รับการฝึกอบรม  (แบบ  ฝย / ฝป  3)
Download From (PDF.file) >>     Download From (Excel.file) >>

กรอบค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมมี 16 ข้อ ดังนี้

1. เงินค่าตอบแทนวิทยากรเท่าที่จ่ายจริง หรือตอบแทนเป็นของขวัญสำหรับวิทยากรมูลค่า ไม่เกิน 5,000 บาท/คน/รุ่น อย่างใดอย่างหนึ่ง
2. ค่าลิขสิทธิ์ของหลักสูตรที่ใช้ในการฝึกอบรม
3. ค่าจ้างล่ามระหว่างการฝึกอบรม
4. ค่าแปลเอกสารประกอบการฝึกอบรม หรือตำรา
5. ค่าเอกสารประกอบการฝึกอบรม หรือตำรา เป็นค่าจ้างจัดทำหรือซื้อมาเป็นเล่ม
6. ค่าจ้างถ่ายเอกสารประกอบการฝึกอบรม
7. ค่าถ่าย ล้าง อัดและขยายรูปภาพ ค่าบันทึกภาพและเสียงที่เกี่ยวข้องกับการฝึกอบรม
8. ค่าจัดทำหรือค่าเช่าสื่อในการฝึกอบรม เช่น เทปเสียง เทปวิดีโอ ซีดี วีซีดี ดีวีดี สไลด์ แผ่นภาพ และรวมถึงชุดทดลอง ชุดสาธิตที่ไม่เข้าข่ายการลงทุน (การเช่าต้องมีระยะเวลาที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม)
9. ค่าวัสดุ เครื่องมือที่ใช้ในการฝึกอบรมฝีมือแรงงาน ต้องไม่ปะปนกับที่ใช้ในการประกอบกิจการตามปกติของผู้ขอรับความเห็นชอบ โดยจะต้องระบุรายการ จำนวนและราคาของวัสดุ เครื่องมือนั้นให้ชัดเจน
10. ค่าเช่าเครื่องมือ เครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ในการฝึกอบรมต้องมีระยะเวลาเช่าที่แน่นอนและสอดคล้องกับหลักสูตรที่จัดฝึกอบรม
11. ค่าเช่าสถานที่จัดฝึกอบรม
12. ค่าเช่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่มและอาหารว่างสำหรับผู้รับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรม และวิทยากรระหว่างฝึกอบรม ยกเว้นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
13. ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัดไป-กลับภายในประเทศเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกิน 2 เที่ยว ยกเว้นค่าเครื่องบิน
14. ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ-ส่งผู้รับการฝึกอบรม เจ้าหน้าที่ประสานการฝึกอบรมและวิทยากรระหว่างการฝึกอบรมไป-กลับในประเทศไม่เกินสองเที่ยว ยกเว้นค่าแท็กซี่และค่าเครื่องบิน
15. ค่าจ้างเหมาพาหนะไปดูงานที่กำหนดไว้ในหลักสูตรภายในประเทศ ยกเว้นค่าแท๊กซี่และ ค่าเครื่องบิน
16. ค่าพาหนะเดินทางภายในประเทศของวิทยากร

หลักฐานค่าใช้จ่าย ของการฝึกภายในมีดังนี้

  • กรณีหลักฐานค่าใช้จ่าย (ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงิน) ที่ออกโดยร้านค้าหรือนิติบุคคล ได้แก่ใบเสร็จรับเงินหรือใบกำกับภาษีที่มีรายการถูกต้องสมบูรณ์ พร้อมระบุชื่อหลักสูตร / รุ่น / วันที่อบรม / จำนวนเงินให้ชัดเจน (กรณีใบเสร็จรับเงินของโรงแรมให้แนบใบแสดงรายละเอียดค่าใช้จ่ายของค่าที่พักและอาหาร หรือ Folio ประกอบด้วย)
  • กรณีใบสำคัญรับเงินที่ให้บุคคลเป็นผู้รับเงินในการจ้างทำของหรือเป็นค่าตอบแทน เช่น ค่าตอบแทนวิทยากร ค่าจ้างทำอาหาร ค่าจ้างเหมาพาหนะรับ – ส่ง เป็นต้น พร้อมแนบสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับเงิน

– ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินสามารถใช้สำเนาได้ ให้เซ็นสำเนาถูกต้องทุกใบ โดยผู้มีอำนาจลงนามแทนบริษัท
– ใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินขอให้แยกขาดกันในแต่ละหลักสูตร แต่ละรุ่นที่ฝึก

  • กรณีที่รวมใบเสร็จรับเงินหรือใบสำคัญรับเงินกันมามากกว่าหนึ่งหลักสูตรหรือหนึ่งรุ่น ก็ให้ถ่ายสำเนาใบเสร็จนั้นตามจำนวนหลักสูตรหรือรุ่นที่รวมกันมา ให้เขียนหมายเหตุแบ่งแยกแต่ละหลักสูตร แต่ละรุ่นให้ชัดเจน ว่าแต่ละหลักสูตร แต่ละรุ่นมีค่าใช้จ่ายหลักสูตร/รุ่นละเท่าไร พร้อมเซ็นชื่อขอรับรองว่าเป็นความจริงด้วย (สามารถทำได้แต่ไม่แนะนำให้ทำ เพราะจะมีปัญหาเวลาพิจารณา)
  • บิลเงินสดที่ออกกันเองไม่สามารถใช้ได้
  • ค่าใช้จ่ายตามกรอบ 16 ข้อ ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยมีจำนวนเหมาะสมและจำเป็นกับการฝึกอบรม

กรณีส่งลูกจ้างไปรับการฝึกกับสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงาน (ฝึกภายนอก , Publig Training) มีข้อสรุปดังนี้ แบบฟอร์มที่ต้องใช้ (ตามคู่มือสิทธิประโยชน์การฝึกอบรมฝีมือแรงงาน)

1. คำขอรับการรับรองหลักสูตร ค่าใช้จ่ายในการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานและการฝึกเปลี่ยนสาขาอาชีพ (แบบ ฝย /ฝป 1)
[ Download From (PDF.file) ]
2. รายละเอียดเกี่ยวกับหลักสูตรและค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรม (แบบ ฝย / ฝป 2-2)
[ Download From (PDF.file) ]     , [ Download From (Excel.file) ]
3. เอกสารประชาสัมพันธ์หลักสูตรอบรม
4. เอกสารกำหนดการอบรมหลักสูตร
5. เอกสารการอนุมัติให้บุคลากรเข้ารับการอบรม
6. ใบเสร็จรับเงินค่าลงทะเบียน
7. วุฒิบัตร, ประกาศนียบัตรที่ผ่านการอบรม

เงื่อนไขของสถานประกอบการสถาบันที่จัดฝึกอบรม (Public Training)

– เป็นสถานศึกษาตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียน เอกชน สถาบันอุดมศึกษาตามกฎหมายว่าด้วย สถาบันอุดมศึกษาเอกชน
– สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานของทางราชการ
– สถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานที่มีฐานะเป็นมูลนิธิ สมาคม หรือนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นถูกต้องตามกฎหมาย

ค่าใช้จ่ายในการฝึกอบรมที่นำมายื่นประกอบ มีดังนี้

• ค่าธรรมเนียมเข้าอบรมหรือค่าลงทะเบียน
• ค่าพาหนะเดินทางข้ามจังหวัด ไป-กลับภายในประเทศเพื่อเข้ารับการฝึกอบรมไม่เกินสองเที่ยว ยกเว้นค่าเครื่องบิน
• ค่าเช่าที่พักเพื่อเข้ารับการฝึกอบรม ในกรณีสถานศึกษาหรือสถานฝึกอบรมฝีมือแรงงานไม่ได้จัดสถานที่พักให้

หมายเหตุ รายละเอียดเกี่ยวกับเอกสาร รวมทั้งความถูกต้องของเอกสารเรื่องกรอบค่าใช้จ่ายการฝึกยกระดับฝีมือแรงงานภายนอก เหมือนกรณีฝึกอบรมภายใน

ภาคผนวก
เอกสารเพิ่มเติมอ้างอิงเกี่ยวกับพระราชบัญญัติฯ
•  พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงานพ.ศ.2545 (ฉบับเต็ม) [Click]
•  พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน ฉบับที่ 2 พ.ศ.2557 [Click]
•  เอกสารบันทึกข้อความ แนวปฎบัติการับค่าธรรมเนียมในพระราชบัญญัติ ฉบับที่ 2 พ.ศ.2557 [Click]
•  คำแนะนำวิธีคำนวนสัดส่วนลูจ้าง 100 คนขึ้นไป [Click]
•  เอกสารขอใช้สิทธิประโยชน์ส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน [Click]

Link website ข้อมูลอ้างอิง
•  กระทรวงแรงงาน พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.2545 >> http://www.mol.go.th/employer/act_skill_development
•  ข้อมูลเพิ่มเติม หมวดหมู่: ประกาศ, พระราชบัญญัติส่งเสริมการพัฒนาฝีมือแรงงาน พ.ศ.๒๕๔๕ >>http://www.mol.go.th/anonymouse/law_labour/skill_development
•  กฎหมายแรงงาน กระทรวงแรงงาน >>http://www.mol.go.th/anonymouse/laws
•  กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน กระทรวงแรงงาน >>http://www.dsd.go.th/
•  กรมสรรพกร >>http://www.rd.go.th/publish/

 


 

-- การดำเนินในขั้นตอนต่างๆ ทั้งหมดนี้ ทางหน่วยงาน/บริษัท ของผู้ติดต่อ ต้องเป็นผู้ดำเนินการเองทั้งหมด --